เปลี่ยนการแสดงผล th A-AA+

ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดสระแก้ว


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

 
คำขวัญประจำจังหวัด
        ชายแดนเบื้องบูรพา   ป่างามน้ำตกสวย  มากด้วยรอยอารยธรรมโบราณ   ย่านการค้าไทย – กัมพูชา
 
ต้นไม้ประจำจังหวัด
                                
 
 
ต้นมะขามป้อม
 
ดอกไม้ประจำจังหวัด
            


 
ดอกแก้ว

ประวัติความเป็นมา
      
             “จังหวัดสระแก้ว” มีที่มาจากชื่อสระน้้าโบราณในพื้นที่อ้าเภอเมืองสระแก้ว ซึ่งมีอยู่ 2 สระ โดยในสมัย กรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2324 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จ เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพยกไปตีประเทศกัมพูชา (เขมร) ได้แวะพักกองทัพที่บริเวณสระน้้าทั้งสองแห่งนี้ กองทัพได้อาศัยน้้าจากสระใช้สอย ได้ขนานนามสระทั้งสองว่า "สระแก้ว สระขวัญ" และได้น้าน้้าจากสระ ทั้งสองแห่งนี้ใช้ในการประกอบพิธีถือน้้าพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้้าบริสุทธิ์ “สระแก้ว” เดิมมีฐานะเป็นต้าบล ได้ตั้งเป็นด่านส้าหรับตรวจคนและสินค้า เข้า-ออก จนถึงปี พ.ศ. 2452 ทางราชการจึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอ้าเภอ ชื่อว่า "กิ่งอ้าเภอสระแก้ว" ขึ้นอยู่ในการปกครองของอ้าเภอ กบินทร์บุรี ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2501 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็นอ้าเภอ ชื่อว่า "อ้าเภอ สระแก้ว" ขึ้นอยู่ในการปกครอง ของจังหวัดปราจีนบุรี และต่อมาเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2536 ได้มีพระราชบัญญัติ จัดตั้งจังหวัดสระแก้วขึ้น โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536 เป็นผลให้ “จังหวัดสระแก้ว” ได้เปิดท้าการใน วันที่ 1 ธันวาคม 2536 โดยเป็นจังหวัดที่ 74 ของประเทศไทย “จังหวัดสระแก้ว” มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานนับ 4,000 ปี ตั้งแต่ยุคหินใหม่-ยุคโลหะ โดยมีการค้นพบ วัตถุโบราณที่บ้านโคกมะกอก ต้าบลเขาสามสิบ อ้าเภอเขาฉกรรจ์ ในยุคต่อมาก็มีการค้นพบโบราณวัตถุอีก เช่น ที่อ้าเภออรัญประเทศและเขตอ้าเภอตาพระยา แสดงหลักฐานว่าสระแก้วเคยเป็นชุมชนส้าคัญที่มีความเจริญ รุ่งเรืองในยุคเจนละทวารวดีมีอารยธรรมและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และมีกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองนับถือ ศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกายและไวษณพนิกาย ดังจะเห็นได้จากโบราณสถานและจารึกรูปอักษรปัลลวะต่าง ๆ ที่ปรากฏที่ปราสาทเขาน้อย เขตอ้าเภออรัญประเทศ ซึ่งถือกันว่าเป็นหลักฐานบันทึกศักราชที่เก่าที่สุด ในกลุ่มจารึกรุ่นแรกที่พบในประเทศไทย สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช 1180 นอกจากนี้ ยังพบหลักฐานความเจริญ ของอารยธรรมขอม ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-16 ในแถบนี้อย่างมากมาย มีทั้งปราสาทอิฐ ปราสาทสด๊กก๊อกธม เตาเผาเครื่องถ้วย และคูเมืองโบราณที่ยังหลงเหลือร่องรอยปรากฏในปัจจุบัน


ทำเลที่ตั้ง และอาณาเขต
                ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ้าเภอครบุรีจังหวัดนครราชสีมา และอ้าเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์
                ทิศใต้ ติดต่อกับ อ้าเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี
                ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ราชอาณาจักรกัมพูชา
                ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ้าเภอกบินทร์บุรี อ้าเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี และอ้าเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
              จังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 256 กิโลเมตร มีเนื้อที่ ประมาณ 7,219.72 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 4,496,962 ไร่ ทิศตะวันออก ติดกับราชอาณาจักร กัมพูชา เป็นระยะทางประมาณ 165 กิโลเมตร ใน 4 อ้าเภอ ได้แก่ อ้าเภออรัญประเทศ คลองหาด ตาพระยา และโคกสูง ดังนั้น ท้าเลที่ตั้งของจังหวัดสระแก้ว จึงมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมในการเป็นประตู สู่ภูมิภาคอื่นของประเทศได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการเป็นประตูสู่อีสาน และประตูสู่อินโดจีน โดยมีจุดผ่านแดน ที่ส้าคัญ 4 จุด คือ จุดผ่านแดนถาวร 1 แห่ง และจุดผ่อนปรนการค้า 3 แห่ง รวมทั้ง มีตลาดโรงเกลือ หรือตลาดชายแดนบ้านคลองลึก อ้าเภออรัญประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งจ้าหน่ายสินค้ามือสองที่ใหญ่ที่สุด ในภูมิภาค สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายพันล้านบาท นอกจากนี้ จังหวัดสระแก้วยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียง และมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ คือ อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา รวมทั้ง ละลุถ้้าน้้า และถ้้าเพชรโพธิ์ทอง เป็นต้น


                                

เขตการปกครอง
        แบ่งออกเป็น 9 อ้าเภอ 58 ต้าบล 731 หมู่บ้าน 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 3 เทศบาลเมือง 13 เทศบาลต้าบล 49 องค์การบริหารส่วนต้าบล

                                  

ประชากร
        ณ เดือนมิถุนายน 2560 รวมทั้งสิ้น 560,531 คน เป็นชาย 280,731 คน หญิง 279,800 คน ส้าหรับอ้าเภอที่มีประชากรมากที่สุด ได้แก่ อ้าเภอเมืองสระแก้ว จ้านวน 110,843 คน รองลงมาได้แก่ อ้าเภออรัญประเทศ จ้านวน 89,150 คน และอ้าเภอวัฒนานคร จ้านวน 81,746 คน

                                



สภาพทางด้านเศรษฐกิจ

        สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจังหวัดสระแก้วในปี 2558 พบว่า จังหวัดสระแก้วมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม เท่ากับ 36,615 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 35,012 ล้านบาท ในปีที่ผ่านมา คิดเป็นล้าดับที่ 8 ของภาค ตะวันออก และเป็นล้าดับที่ 61 ของประเทศ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (Gross Provincial Product per Capita) ปี 2558 เท่ากับ 60,573 บาทต่อปี เพิ่มขึ้นจาก 58,846 บาท ในปีที่ผ่านมา รายได้ส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร คิดจากมูลค่าเท่ากับ 10,663 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.12 รองลงมาเป็นสาขา การค้าปลีกค้าส่ง มีมูลค่าเท่ากับ 5,365 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14.65 สาขาการอุตสาหกรรมมีมูลค่า เท่ากับ 5,068 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.84 และสาขาอื่นๆ (สาขาการบริหารราชการและการป้องกัน ประเทศ สาขาการศึกษา สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ) มีมูลค่าเท่ากับ 15,519 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.39 (ที่มา: ส้านักงานคลังจังหวัดสระแก้ว)

                                            

ด้านการเกษตร
        จังหวัดสระแก้ว มีพื้นที่ท้าการเกษตรทั้งหมด จ้านวน 2,340,093 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด

                            

ด้านการค้าชายแดน
        ส้าหรับการค้าชายแดนของไทยด้านกัมพูชา การน้าเข้าและส่งออกสินค้าจะต้องผ่านพิธีการศุลกากร โดยมีจุดผ่านแดนที่ส้าคัญ 4 จุด คือ จุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึก อ้าเภออรัญประเทศ และจุดผ่อนปรน การค้าชั่วคราวอีก 3 จุด คือ     
                    3.1) จุดผ่อนปรนการค้าบ้านเขาดิน - บ้านกิโล 13 ระหว่างอ้าเภอคลองหาดกับอ้าเภอส้าเภาลูน จังหวัด พระตะบอง (อยู่ระหว่างยกฐานะให้เป็นจุดผ่านแดนถาวร)
                    3.2) จุดผ่อนปรนการค้าบ้านหนองปรือ - มาลัย ระหว่างอ้าเภออรัญประเทศ กับอ้าเภอมาลัย จังหวัด บันเตียเมียนเจย
                    3.3) จุดผ่อนปรนการค้าบ้านตาพระยา - บึงตากวน ระหว่างอ้าเภอตาพระยา กับอ้าเภอทมอพวก จังหวัดบันเตียเมียนเจย


ด้านการคมนาคม
        การเดินทางจากกรุงเทพฯ มาจังหวัดสระแก้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ รถโดยสาร ประจ้าทาง และรถไฟ ดังนี้
            1.1 รถยนต์สามารถใช้เส้นทางได้ 4 เส้นทาง ได้แก่
    - จากกรุงเทพฯใช้เส้นทางสายพหลโยธินมาถึงรังสิต แล้วให้ชิดซ้ายโดยใช้สะพานวงแหวนข้ามมาลง ที่เส้นทางหมายเลข 305 ผ่านอ้าเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จากนั้นเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 33 ผ่านอ้าเภอกบินทร์บุรี ไปจนถึงจังหวัดสระแก้ว ระยะทางประมาณ 214 กิโลเมตร
    - จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 แล้วเลี้ยวขวาที่แยกหินกองไปตามทางหลวง หมายเลข 33 ผ่านจังหวัดนครนายก อ้าเภอกบินทร์บุรี ไปจนถึงจังหวัดสระแก้ว ระยะทางประมาณ 245 กิโลเมตร
     - จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านเขตมีนบุรี ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา จากนั้น ใช้เส้นทางไปอ้าเภอพนมสารคาม ถึงกิโลเมตรที่ 35 ให้เลี้ยวขวาไปทางอ้าเภอกบินทร์บุรี โดยใช้เส้นทาง หมายเลข 304 ถึงกิโลเมตรที่ 95 ให้เลี้ยวขวา เข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 33 ไปจนถึงจังหวัดสระแก้ว ระยะทางประมาณ 210 กิโลเมตร
    - จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 304 ผ่านเขตมีนบุรี ผ่านจังหวัดฉะเชิงเทรา จากนั้น ใช้เส้นทางไปอ้าเภอพนมสารคาม ผ่านศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ประมาณกิโลเมตรที่ 54 จะมีทางแยกขวาไปจังหวัดสระแก้ว โดยไปตามทางหลวงหมายเลข 359 อีกประมาณ 65 กิโลเมตร ถึงจังหวัดสระแก้ว
         1.2 รถ
โดยสารประจำทาง บริษัท ขนส่ง จ้ากัด มีบริการรถโดยสารประจำทาง ออกจากสถานีขนส่ง หมอชิต และสถานีขนส่งเอกมัยทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง
       1.3 รถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย มีบริการขบวนรถโดยสารสายกรุงเทพฯ-สระแก้ว-อรัญประเทศ วันละ 2 ขบวน ขบวนแรกออกจากกรุงเทพฯ เวลา 05.55 น. ถึงสระแก้ว เวลา 10.32 น. ถึงอรัญประเทศ เวลา 11.30 น. และขบวนที่สอง ออกจากรุงเทพฯ เวลา 13.05 น. ถึงสระแก้ว เวลา 17.25 น. ถึงอรัญประเทศ เวลา 18.20 น. และเที่ยวกลับวันละ 2 ขบวน ขบวนแรกออกจากอรัญประเทศ เวลา 06.35 น. ถึงสระแก้ว เวลา 07.26 น. และถึงกรุงเทพฯ เวลา 11.30 น. ขบวนที่สอง จากอรัญประเทศ เวลา 13.35 น. ถึงสระแก้ว เวลา 14.37 น. และถึงกรุงเทพฯ เวลา 19.30 น.

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

แหล่งอ้างอิงข้อมูล : http://www.sakaeo.go.th/websakaeo/generality.php


^